ประวัติ คุณพ่อประดิษฐ์ ดำรงค์วานิช

คุณพ่อประดิษฐ์ ดำรงค์วานิช เกิดเมื่อวันที่ 2 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2462 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม ( ๒๗  ) ที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรชายของ นายเชิงและนางบุญเกิด แซ่ตั้ง มีน้องสาวหนึ่งคนคือ น.ส.ปราณี แซ่ตั้ง ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2505 ด้วยโรคหอบหืด มีพี่สาวต่าง มารดาชื่อนางน้อย ทิตาราม เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2518
เมื่อคุณพ่ออายุ 9 ปี อาก๋งได้พาไปเมืองจีนเพื่อให้ไปอยู่ที่ ตำบลล่งโตวในซิวเถา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของอาก๋งเพื่อสืบสกุล แต่ เมื่ออยู่ได้เกือบปีเกิดล้มป่วยลงไม่มีใครพาไปรักษา อาก๋งทราบข่าว จึงเดินทางไปรับกลับมาเมืองไทยจึงอยู่เมืองไทยมาตลอด
TN_pradit01.JPG (14297 bytes)

คุณพ่อเข้าเรียนที่โรงเรียนจีนในกรุงเทพเริ่มที่ชั้น ป.2 เมื่ออายุ 14 ปี (พ.ศ. 2476) ใช้เวลาเรียน ป.2-ป.4 และ ม.1-ม.6 ใช้เวลาเรียน 3-4 ปีเพราะได้เลื่อนชั้นบ่อย เมื่อเรียนจบ ม.6 คุณพ่อ ตั้งใจจะเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้อาก๋งไม่ยอม ให้เรียนต่อคุณพ่อก็ตั้งใจจะหางานทำด้วยเรียนไปด้วย และได้เดิน ทางมากรุงเทพฯ เพื่อเตรียมตัวสอบเทียบ ม.8 ก่อนเข้าธรรมศาสตร์ แต่สุดท้ายอาก๋งโทรเลขมาหลอกว่าย่าป่วย ด้วย ความกตัญญูคุณ พ่อรีบเดินทางกลับบางมูลนาก และอาก๋งก็ไม่ให้เดินทางมากรุง เทพฯอีกเลย จึงไม่ได้เรียนต่อตามที่ตั้งใจ ด้วยเหตุนี้คุณพ่อจึงเริ่ม ทำงานที่โรงสีข้าว เริ่มฝึกงานตั้งแต่เป็นคนขนถังข้าว นับติ้ว จน เป็นเสมียนบัญชี ในที่สุดก็ได้เป็นผู้จัดการโรงสีและเมื่อปี พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นปีที่คุณพ่อได้พบกับคุณแม่เป็นครั้งแรกในงานแต่งงาน เพื่อน ขณะนั้นเป็นผู้จัดการโรงสีไทยวัฒนาที่บ้านหมี่ และได้ แต่งงานกันในปี พ.ศ. 2485

TN_pradit02.JPG (5544 bytes)คุณพ่อก็ทำงานเป็นผู้จัดการโรงสี บ้านหมี่ จนเมื่อมีบุตรคนแรกในปี พ.ศ. 2487 คือ นายแพทย์ธนูชัย ดำรงค์วานิช จบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณพ่อกับคุณแม่ก็ได้ลงมากรุงเทพฯเพื่อ ลงทุนทำน้ำยาขัดรองเท้าจำหน่าย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามมหาเอ เชียบูรพา ทำให้สินค้าขาดแคลน ทำไปได้ประมาณเกือบปีกิจการ ไม่ประสบความสำเร็จประกอบกับกรุงเทพฯโดนทิ้งระเบิดจึงกลับมา อยู่บางมูลนากอีกครั้งหนึ่ง
คุณแม่เริ่มเปิดร้านตัดเสื้อและคุณพ่อก็ได้กลับไปเป็น ผู้จัดการโรงสีไทยวัฒนาอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2490 ก็ได้บุตรสาว คือ เภสัชกรหญิงศิริโฉม ยิ้มศิริกุล จบการศึกษาจากคณะเภสัช ศาสตร์จุฬา (มหิดล) ปัจจุบันเป็นผู้จัดการบริษัทซาโนฟี่ ซินเตลาโบ (ประเทศไทย) จำกัด สมรสกับคุณเชี่ยวเวทย์ ยิ้มศิริกุล มีบุตรชาย สามคนคือ
นายสัมปชัญญ์ ยิ้มศิริกุล
นายธิตินันท์ ยิ้มศิริกุล
ด.ช.ธีรภัทร ยิ้มศิริกุล
ต่อมาคุณพ่อเกิดมีความขัดแย้งกับเจ้าของโรงสีจึงลาออก และมาเปิดโรงงานทำน้ำอัดลมและต่อมาเปิดร้านถ่ายรูปที่บางมูลนาก ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อชอบ เมื่อดำเนินกิจการร้านถ่ายรูปไปได้ 1-2 ปี พบว่าช่วงปกติมีคนถ่ายรูปน้อย แต่พอหน้าเทศกาลก็มีคน มาถ่ายรูปมากแต่ไม่สามารถทำให้ทันได้เพราะไฟฟ้าขณะนั้นมีช่วง กลางคืนถึงสี่ทุ่ม ดังนั้นเมื่อมีคนเชิญไปเป็นผู้จัดการบริษัท บูรพา เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทค้าส่งสินค้าที่จังหวัดพิษณุโลก คุณพ่อก็ไป โดยร้านถ่ายรูปก็ให้ลูกจ้างทำและคุณแม่ก็เปิดร้านตัดเสื้ออยู่ที่ บางมูลนากTN_pradit03.JPG (8743 bytes) จนในปี พ.ศ. 2492 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่บางมูลนาก เผาตลาดร้านค้าวอดหมด ของที่ขนออกมา 10 กว่ากระสอบมีคน เมตตาช่วยขนเอาไปเลย เหลือแต่กระสอบสุดท้ายที่ไม่มีค่างวด อะไรเป็นหมอนมุ้งและจักรเย็บผ้าหนึ่งคัน โชคยังดีที่คุณพ่อยังเป็น ผู้จัดการอยู่ที่บริษัทบูรพาเอเชียที่พิษณุโลก จึงเริ่มสร้างบ้านใหม่ และคุณแม่ก็เริ่มเปิดร้านตัดเสื้อใหม่ และในปี พ.ศ. 2493 ก็มีบุตร คนที่สามคือ นาวาอากาศโทฉัตรชัย ดำรงค์วานิช ซึ่งจบการศึกษา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและปริญญาโท สาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ขณะนี้รับราชการอยู่ที่ หอสมุดกองทัพอากาศกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน ดอนเมือง กรุงเทพๆ ในช่วงนี้ของคุณพ่อเริ่มคิดสร้างโรงสีด้วยตัวเอง จึงไปซื้อ ที่ดินที่ตำบลบางราย อำเภอโพธิ์ทะเล และเริ่มก่อสร้างโรงสีข้าวใช้ เวลาปีเศษก็เรียบร้อยและเริ่มดำเนินการสีข้าวในปี พ.ศ. 2495 ก็มี บุตรคนที่สี่คือ พันโทภาณุชัย ดำรงค์วานิช จบการศึกษาจากมหา วิทยาลัย หอการค้าไทย ปัจจุบันรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้า นายทหารการเงิน กองการเงิน กรมสรรพาวุธทหารบก สมรสแล้ว กับอาจารย์สุขจิต (สุดสาคร) มีบุตร สี่คน คือ
น.ส.ชัญญา ดำรงค์วานิช (ไพริน)
นายศุภกร ดำรงค์วานิช (สุขจิต)
นายจตุพร ดำรงค์วานิช (สุขจิต)
ด.ช.คณิณ ดำรงค์วานิช (สุขจิต)
กิจการโรงสีที่ตำบลบางรายดำเนินไปได้แต่ประสบปัญหา เรื่องซื้อข้าวเปลือกมาส ีเพราะชาวนาแถวนี้จะเก็บข้าวไว้รอพ่อค้าจาก กรุงเทพฯ มาซื้อ คือเป็นประเพณีปฏิบัติมานานคุณพ่อจึงได้รื้อโรงสี กลับมาตั้งที่บางมูลนาก ขณะกำลังก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 ก็มี บุตรคนที่ห้าคือ นายฤทธิชัย ดำรงค์วานิช การศึกษาวิศวกรรม- ศาสตร์ไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันวายชนม์แล้ว) การย้ายโรงสีจากตำบลบางราย โพธิ์ทะเล มาอำเภอ บางมูลนากต้องใช้เวลานานมากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง และต้อง
หยุดการดำเนินการสีข้าวทำให้ตอนสร้างโรงสีที่บางมูลนากต้อง กู้ยืมมาสร้างอีกประมาณสองแสนบาท เมื่อสร้างเสร็จต้องให้ เช่ารายได้ไม่คุ้มค่าดอกจึงต้องขายให้แก่เจ้าของเงินกู้ประมาณ เก้าแสนบาทเหลือเงินประมาณหกแสนเศษจึงเริ่มนำมาปล่อยกู้ รับจำนองและซื้อที่นาสะสมเรื่อยมา ปี พ.ศ. 2499 ได้เข้าหุ้นและ เป็นผู้จัดการโรงสีแสงชัย สถานีพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และในปี พ.ศ. 2500TN_pradit04.JPG (8491 bytes) ก็ได้บุตรคนที่หกคือ พ.ต.อ.นพ.พีระชัย ดำรงค์วานิช จบการศึกษา จากคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบวุฒิบัตรวิชาชีพขั้นสูงสาขาออร์โธปิดิคส์ จาก ร.พ. จุฬาฯ ปัจจุบันรับราชการเป็น นพ.สบ.4 งานออร์โธปิดิคส์ โรงพยาบาล ตำรวจ สมรสแล้วกับนางสุดาพร (ศิริกุล) มีบุตร 2 คน คือ
นายอมเรศ ดำรงค์วานิช
ด.ญ.อรวี ดำรงค์วานิช
ในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งถือเป็นกึ่งพุทธกาล ขณะที่เป็น ผู้จัดการโรงสีแสงชัยที่อุตรดิตถ์อยู่คุณแม่ของคุณพ่อขอให้คุณพ่อ บวช ด้วยความกตัญญูคุณพ่อก็บวชอยู่ 3 เดือน ทำให้ต้องขาดการ บริหารจัดการที่โรงสีแสงชัยส่งผลให้หุ้นส่วนไม่พอใจจนในที่สุดก็ ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการโรงสี   ในช่วงหนึ่งเพื่อนคุณพ่อซึ่งค้าอะไหล่รถยนต์ได้มากู้เงิน และประสบปัญหาจึงโอนอะไหล่ใช้หนี้แทน คุณพ่อเลยมาเปิดร้าน อะไหล่รถยนต์และมีรถยนต์รับจ้างขนข้าว ซึ่งดำเนินการมาระยะ หนึ่งประจวบกับลูกๆจบการศึกษาหมดแล้ว คุณพ่อจึงหยุดและ ย้ายมาอยู่กับลูกๆที่กรุงเทพฯ TN_pradit05.JPG (8821 bytes)

คุณพ่อจะมีโรคเบาหวานอยู่มา 10 กว่าปี แต่เป็นไม่มากใช้ควบคุมอาหารโดยเฉพาะข้าวกล้อง ซึ่งก็ ควบคุมได้ดี น้ำตาลในเลือดไม่เกิน 150 มก.% แต่หลังผ่าตัดต้อ กระจกใส่เลนส์เทียม เบาหวานเป็นมากขึ้นต้องใช้ยาเบาหวาน แต่ก็ใช้ยาเบาหวานในขนาดน้อยมากก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาล   ไม่เกิน 150 มก.% ในเดือนพฤษภาคม 2541 คุณพ่อเริ่มมีไข้เริ่มให้ ยาปฏิชีวนะเพราะคิดว่าติดเชื้อบัคเตรีจากทางเดิน อาหารได้ยา 2-3 วัน อาการดีขึ้นไข้ลดแต่ได้ 3-4 วัน ไข้กลับขึ้นมาอีก ต้องปรับ เปลี่ยนยาปฏิชีวนะ เมื่อปรับเปลี่ยนอาการไข้ก็เริ่มลดลง แต่พอ ลดลง 4-5 วัน ไข้กลับมาอีก ต้องปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะอีก อาการไข้ จะลดลง 4-5 วัน ก็จะกลับมีไข้ขึ้นมาอีก เมื่อ น.พ.พีระชัย บุตรชายคนเล็กมาเยี่ยมจึงนำไปเข้า ร.พ.ตำรวจ เมื่อ เข้า รพ. เวลาไข้ขึ้นเริ่มมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย ตรวจพบว่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดน้อยกว่าปกติ จึงส่งเข้า รพ. จุฬาฯ เพื่อตรวจหาสาเหตุ ได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพาะเชื้อจาก เลือด เจาะเลือด เจาะไขกระดูก เจาะไขสันหลัง รวมถึงเอ็กซเรย์ และคอมพิวเตอร์เอ็กเรย์ที่ศีรษะ ทรวงอก และช่องท้อง ผลยังไม่ พบสาเหตุ ตลอดเวลาที่ตรวจหาสาเหตุซึ่งใช้เวลา ประมาณ หนึ่งอาทิตย์ คุณพ่อจะมีไข้หนาวสั่นเป็นพักๆ วันละ 1-2 ครั้ง ทุกวัน เมื่อผลตรวจทั้งหมดไม่พบสาเหตุTN_pradit23.JPG (9303 bytes) อาจารย์แพทย์ที่รักษาจึงเริ่ม ให้การรักษาเพื่อวิเคราะห์โรค (Therapectic Diagnosis) โดยเริ่ม ให้การรักษาแบบวัณโรค แต่เมื่อเริ่มให้ยารักษาวัณโรคได้ 2-3 วัน ก็เกิดตับอักเสบจากยาตาเหลืองตัวเหลือง เมื่อ อ.จ.แพทย์เฉพาะ โรควัณโรคมาดูสรุปว่าไม่ใช่วัณโรคก็ให้หยุดยา และเริ่มรักษาแบบ การติดเชื้อโรคโดยใช้เซฟาโรสพอรินรุ่น 3 คือ เซตไตรแอกโซน (3rd Generation cephalosporin) ให้อยู่ 5 วัน ไข้ก็ยังไม่ลง อ.จ.แพทย์ ที่รักษาจึงหยุดยา ผมพยายามขอร้องให้ใช้ต่ออีก 2-3 วัน เพราะ สังเกตเห็นอาการทางคลินิกบางอย่างดีขึ้นแต่ อจ.แพทย์ บอกว่า ถ้าเป็นการติดเชื้อควรได้ผลให้เห็นชัดเจนกว่านี้ และได้มีการ เจาะไขกระดูกซ้ำอีกครั้ง ซึ่งผลครั้งนี้ให้การวินิจฉัยว่า เป็นมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma large cell type) และเริ่มให้ สเตียรอยด์ก่อน เข้าใจว่าเพราะคุณพ่อยังมีตาเหลือง ตัวเหลือง มีตับอักเสบอยู่ ยาตัวนี้จะเป็นหนึ่งในเคมีบำบัดโรคมะเร็งต่อม น้ำเหลือง(Lymphoma) โดยจะลดการแบ่งตัวของลิมโฟไซต์ ทั้งบี และที (B & T lymphocyte) ขณะเดียวกันจะเพิ่มปริมาณของเม็ด เลือดขาว(Neutrophil) เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดและไม่มี ผลต่อตับอักเสบ ซึ่งเมื่ออาการดีขึ้นคงจะเพิ่มเคมีบำบัดตัวอื่นต่อไป แต่เมื่อให้ไป 1 วัน อาการกับทรุดลงไม่รู้สึกตัว ลูกลูกจึงปรึกษากัน เห็นว่าในการเจาะไขกระดูกครั้งแรกก็ยังไม่อาจวินิจฉัยได้และการ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก็ไม่พบต่อมน้ำเหลืองกลุ่มไหนที่โต ผิดปกติ แสดงว่าไขกระดูกยังทำงานได้ดีไม่มีเซลล์มะเร็งมากมาย อีกทั้งเม็ดเลือดขาว,เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดก็ต่ำไม่มาก ซึ่ง อาจเป็นผลจากการใช้อาจมีการติดเชื้อจึงถูกทำลาย และไขกระดูก สร้างไม่ทัน แต่ยังไม่มีปัญหาต่อสุขภาพมากมาย โดยที่จุดที่เจาะ เลือดให้น้ำเกลือและที่ฉีดอินซูลินก็ไม่มีจ้ำเลือดออก และตลอด 2 อาทิตย์ที่อยู่ร.พ.ก็ไม่ได้รับเลือดหรือเกร็ดเลือดเลย ดังนั้นเรื่อง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรเลื่อนการใช้เคมีบำบัดก่อน เพราะอาการ ทั่วไปที่ทรุดลง ไข้ก็ยังมีสูงและการใช้สเตียรอยด์กับทำให้ทรุดลงTN_pradit16.JPG (11047 bytes) เรื่องการติดเชื้อน่าจะเป็นปัญหาอยู่และอาจเป็นตัวการที่ทำให้ มีพยาธิสภาพเช่นนี้ก็ได้ ถึงแม้จะไม่ใช่ลักษณะปกติจึงควรรักษา เรื่องการติดเชื้อก่อนและพักรักษาตับอักเสบร่วมกับการใช้ธรรม ชาติบำบัด เพื่อให้อาการทั่วไปดีขึ้นก่อน จึงย้ายมา รพ.ตำรวจ และเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเซพฟาโลสพอริน รุ่นที่ 4(4th Generation Cephalosporin)คือ เซฟรอม ซึ่งมีการตอบสนองใน ทางที่ดีถึงแม้จะค่อนข้างช้า โดยเฉพาะเมื่อผลการตรวจเลือดคือ Alkaline phosphatase, Lactate dehydrogenase (LDH) ซึ่งขึ้น สูงมาตลอดเริ่มลดลง ทำให้มีความหวังว่าพยาธิสภาพที่เกิดน่าจะมี ต้นเหตุจากเชื้อโรค อาจไม่ใช่มะเร็ง แต่เนื่องจากคุณพ่ออายุมาก แล้วและเคยมีอาการทรุดหนักมาก การฟื้นตัวย่อมช้าโดยดูได้จาก การรักษาสมดุลย์ต่างของร่างกาย(Homeostasis) ยังไม่ดีนัก มีการ แกว่ง(Fluctuation) เช่น ความดันจะขึ้นและลงแตกต่างกันมากบาง ครั้งลงถึง 80 มม. ปรอท แต่ไม่ใช่อาการช็อคเพราะปัสสาวะไหลดี ตลอดแสดงถึงมีเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆดีพอ(tissue perfussion ดี) การรักษาสมดุลย์กรดด่างไม่ค่อยดีเมื่อให้วิตามินซีผสมในน้ำ เกลือซึ่งวิตามินซีมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อให้มาระยะหนึ่งก็เกิดภาวะ เลือดเป็นกรด(Acidosis) ต้องรักษาและหยุดวิตามินซีทางน้ำเกลือ อาการก็หายไป ซึ่งไตจะเป็นตัวสำคัณในการจัดสมดุลย์ของกรด ด่าง อนึ่งคุณพ่อมีอาการบวมที่เท้าทั้ง 2 ข้าง หลังได้รับน้ำเกลือ โดยที่ระดับโปรตีนในเลือดก่อนบวมและหลังบวม ไม่เปลี่ยนแปลง (ระดับโปรตีนในเลือดจะเป็นตัวกำหนด Oncotic pressure) ในช่วงบวมบางครั้งโปรตีนอาจสูงขึ้นบ้างด้วยซ้ำ โดยที่ สภาวะหัวใจและการไหลเวียนเลือดยังปรกติ ไม่มีปัญหาการอุดตัน ของทางเดินน้ำเหลืองและไม่มีผลของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเกี่ยว ข้องด้วย(Gravity effect) แสดงว่าน่าจะเกิดจากมีเกลือโซเดียม มากเกิน ซึ่งบ่งชี้ว่าไตขับเกลือโซเดียมส่วนเกินได้ลดน้อยลง ซึ่ง ปกติคนสูงอายุก็จะเป็น เนื่องจากปริมาณเลือดมาที่ไตจะลดลงบ้าง โดยที่เกลือโซเดียมที่มากเกินจะดึงน้ำไว้ด้วย เพื่อรักษาสมดุลย์ของ ออสโมลาลิตี้ (Osmolality) ให้คงที่จึงเกิดการบวมขึ้น ซึ่งในคนปกติ ปริมาณโซเดียมในเลือดจะเป็นตัวบ่งบอกออสโมลาลิตี้ (Osmolarity) ในเลือดซึ่งถ้าออสโมลาลิตี้เสียสมดุลย์ไปเช่นต่ำหรือสูงไป จะมี ผลต่อเซลล์ในร่างกายทำให้ไม่สามารถจะทำงานได้โดยเฉพาะเซลล์ สมอง ถ้าออสโมลาลิตี้สูง (Hyperosmolarity) เท่ากับหรือมากกว่า 350 หน่วย(mmol/L) จะทำให้ไม่รู้สึกตัว(Coma) หรือถ้ามีภาวะ ออสโมลาริตี้ต่ำ(Hyponatremic-hypo-osmolarity) ที่ระดับ โซเดียมในเลือดต่ำกว่า 125 หน่วย(mmol/L) จะเกิดภาวะสับสน (Confusion) และถ้าต่ำกว่า 115 หน่วย(mmol/L) จะไม่รู้สึกตัว และชักได้ (Coma & seizure) แต่ในสภาวะที่มีโรคเบาหวานหรือ โรคไตที่มีการคั่งของเสียในเลือด เพื่อรักษาสมดุลย์ของออสโมลาลิตี้ โซเดียมในเลือดจะต้องลดต่ำลง ในกรณีเช่นนี้ ระดับโซเดียมใน
เลือดจะไม่ใช่ตัวแทนที่บ่งบอกภาวะของออสโมลาลิตี้ในเลือด ที่พบ ได้บ่อย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าร่างกายสามารถรักษา สมดุลย์ออสโมลาลิตี้(Osmolarity) ได้ ก็จะมีปัญหาจากน้ำตาลใน เลือดสูงอย่างเดียว คือระดับโซเดียมในเลือดจะต้องลดต่ำลง แต่ถ้า ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลย์ออสโมลาลิตี้ไว้ได้ คือถ้าระดับ โซเดียมไม่ลดลง จะเกิดภาวะออสโมลาลิตี้ในเลือดสูง(Hyperos -molality) ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวทำให้เสียชีวิตได้ถ้ารักษาไม่ทัน   อีกทั้งเรื่องตับอักเสบก็ยังเป็นปัญหาไม่ดีขึ้นเลย ยังมีตา เหลือง ผลของเลือดแสดงถึงยังมีการอักเสบของตับระดับปานกลาง ซึ่งตับจะเป็นอวัยวะที่สำคัญที่จะจัดการเรื่องของสารอาหารและวิตามิน คือ พวกน้ำตาลกลูโคส, กรดแอมมิโน, กรดไขมัน, โฆเลสเตอรอล, วิตามินที่ละลายในน้ำและน้ำมัน รวมทั้งการสร้างโปรตีนเพื่อนำพา สารอาหารเหล่านี้ไปในเลือด เช่น ไลโปโปรตีน เพื่อนำพาไขมัน รวมถึงโปรตีนที่จะนำพาในฮอร์โมนต่างๆ และยังเป็นตัวทำให้ ฮอร์โมนต่างๆหมดฤทธิ์ และยังคอยกำจัดสารพิษต่างๆด้วย เมื่อ ตับอักเสบก็ทำให้ไม่สามารถจะจัดสารอาหารเหล่านี้ไปให้แก่เซลล์ ต่างๆได้ดี อีกทั้งจะมีสารพิษตกค้างมากขึ้นด้วย เซลล์ต่างๆก็จะ ทำงานด้อยลงและฟื้นตัวช้าลงไปอีก และเมื่อฮอร์โมนต่างๆตกค้าง อยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น ทำให้เซลล์ที่มีตัวรับของฮอร์โมนต่างๆTN_pradit28.JPG (11753 bytes) มีการทำงานที่แปรปรวนไม่สม่ำเสมอเพราะปกติร่างกายจะมีการ ควบคุมการสร้างฮอร์โมนของเซลล์ต่างๆโดยอาศัยสารที่เซลล์ที่มี ตัวรับสร้างขึ้นส่งสัญญาณกลับไปยังเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนนั้นหยุด สร้างเมื่อพอเพียง(Feed back) ดังนั้นถ้าประคับประคองให้ตับ อักเสบดีขึ้น และเซลล์ต่างๆฟื้นตัวเข้าสู่สมดุลย์แนวโน้มน่าจะดี แต่คุณพ่อเกิดมีภาวะหัวใจล้มเหลวแทรกซ้อนเริ่มด้วยนอนราบไม่ ได้(Orthopnea) ซึ่งจะมีผลทำให้ตับแย่ลงไปอีกเป็นผลจากแรงดัน ในหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้นและเลือดแดงมาที่ตับลดน้อยลง แค่นี้ยังไม่ พอ เมื่อตับทรุดลงยังทำให้เกิดภาวะไตวายจากโรคตับ(Hepato - renal syndrome) โดยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ไต แต่เป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดมาที่ไตน้อยลง เชื่อกันว่าTN_pradit30.JPG (8487 bytes) เพราะตับเสียหน้าที่ทำให้สมดุลย์ของพลอสตาแกลนดินและธรอม -บ็อกเซนเสียไป ทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวแย่ลงไปอีก เพราะใช้ยา ขับปัสสาวะไม่ได้ผล เมื่ออยู่สภาวะหอบนอนราบไม่ได้ระยะหนึ่ง เกิดภาวะช็อค(Hypovolemic shock) คิดว่าคงเป็นจาก Stress ulcer แล้วมีเลือดออกร่วมกับภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออก มากเกิดช็อคและหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิตไปเมื่อเวลา 04:30 น. วัน อาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2541 และได้นำมาทำพิธีรดน้ำศพและ สวดอภิธรรมที่วัดตรีทศเทพ ศาลา 4 เป็นเวลา 7 วัน


home-mov.gif (3319 bytes)
หนังสืออนุสรณ์ | ภาพงานพระราชทานเพลิง | ญาติ | LINK
มีปัญหา ติ ชม แจ้งข้อบกพร่อง ที่ <pirachai@hotmail.com>
Copyright ? 2002 All rights reserved.
Revised: 20 พฤษภาคม 2002.